ประโยชน์ของการรักษาด้วยการฝังเข็มใน ออฟฟิตซินโดรม (Dry needling for Office Syndrome)

ประโยชน์ของการรักษาด้วยการฝังเข็มใน ออฟฟิตซินโดรม (Dry needling for Office Syndrome)

เมษายน 7, 2024

การฝังเข็มโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นการฝังเข็มแบบแพทย์ตะวันตก โดยการใช้เข็มจิ้มไปยังบริวณกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดร้าว (Trigger point) ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว และช่วยลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี ซึ่งการฝังเข็มเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยกลุ่มออฟฟิตซินโดรมและ กลุ่มปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome)  รวมถึงในนักกีฬา นักวิ่ง หรือผู้ที่บาดเจ็บเรื้อรังจากออกกำลังกาย

ประโยชน์ของการฝังเข็ม

  1. การรักษาที่ตรงจุดที่มีอาการปวดร้าว ช่วยทำให้ลดอาการปวดได้ทันที 
  2. กล้ามเนื้อที่มีเป็นปัญหาและมีการอักเสบแบบเรื้อรัง เกิดการ คลายตัว ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
  3. เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เพิ่มออกซิเจนในกล้ามเนื้อ ทำให้ลดอาการปวด และรู้สึกผ่อนคลาย

ความถี่ในการฝังเข็ม จะขึ้นกับอาการหรือความเรื้อรังของโรค ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 4-6 สัปดาห์

ทั้งนี้เพื่อประสิธิภาพการรักษาที่ให้ผลดีในระยะยาว ควรทำควบคู่กับการให้การรักษาทางกายภาพบำบัด และนวดบำบัด 

Note ในกรณีที่ผู้ป่วยบางราย ระบบหรือช้ำง่าย อาจทำกายภาพบำบัดหลังจากฝังเข็ม เช่น High Power Laser Therapy และการบำบัดด้วยความเย็น