4-4 วิธีป้องกันและวิธีรักษาที่ดีที่สุดในออฟฟิตซินโดรม

4-4 วิธีป้องกันและวิธีรักษาที่ดีที่สุดในออฟฟิตซินโดรม

เมษายน 7, 2024

โรคยอดฮิตที่เกิดกับคนวัยทำงานหรือในพนักงานออฟฟิต คงหนีไม่พ้น “ออฟฟิตซินโดรม” ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายจากอาการเจ็บปวดเช่นปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง ในขณะนั่งทำงาน ซึ่งบางรายอาจเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาการนอนไม่หลับ ตาพร่ามัวหรือมองไม่ชัด และถ้ามีอาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน อาจทำให้มีผลกระทบทางด้านจิตใจเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น เรียกได้ว่า ออฟฟิตซินโดรม เป็นภัยร้าย ที่ดูไม่รุนแรง แต่บั่นทอนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในระยะยาว 

ออฟฟิตซินโดรม คือกลุ่มอาการที่เกิดจากการนั่งทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องสะสมจนเป็นพฤติกรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์/ แทปเล็ต ipad ทำงานและในปัจจุบันยังรวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือไม่ว่าจากการเล่น โซเซียลมีเดียต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวไม่ใช่แต่เพียงในคนวัยทำงาน แต่พฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบัน รวมถึงเด็กยุคใหม่ที่มีสื่อการเรียนการสอนเอื้อต่อการให้เกิดโรคออฟฟิตซินโดรมได้ในอนาคต 

4 หลักการป้องกันออฟฟิตซินโดรมที่ดีที่สุด

4-Changes

  1. เปลี่ยน ท่านั่ง ในการทำงาน ทุกๆ 30-60นาที (เราแนะนำการตั้งเวลาในการนั่งทำงาน) และ เป็นท่านั่งที่ถูกต้อง เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อ คอ บ่าไหล่ หลัง จนเกิดเป็นการอักเสบเรื้อรัง
  2. เปลี่ยน พฤติกรรม เช่น นั่งทำงานบนที่นอน นอนเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ
  3. เปลี่ยน สิ่งแวดล้อม เช่นชุดโต๊ะทำงาน เก้าอี้ให้ถูกต้องตามการยศาสตร์
  4. เปลี่ยน สถานที่และเวลาการทำงาน ควรเลือกทำงานในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์หรือทำงานในช่วงกลางคืน เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อต้นคอ ศีรษะและดวงตา

4 วิธีการรักษาออฟฟิตซินโดรมที่ดีที่สุด

4 Treatments

  1. กายภาพบำบัด ช่วยลดการปวดตึงกล้ามเนื้อด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัด เช่น US Combine, Shockwave, High Power Laser หรือ PMS และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยเทคนิคการนวดขยับข้อต่อโดยนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ 
  2. นวดบำบัด โดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อลดอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ควบคู่กับการยืดเหยียดกลุ่มกล้ามเนื้อที่เกิดปัญหาโดยเฉพาะ
  3. การฝังเข็ม ไปยังจุดปวดกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าว (Trigger Point) โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  4. การออกกำลังกาย เป็นประจำ3-5ครั้งต่อสัปดาห์ เช่นออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงและการทรงท่าเช่น Core Body Exercise,Resisted Bandยางยืด, Pilates, Yoga. และ คาร์ดิโอ เช่น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ เป็นต้น